เมนู

ได้อยู่ในภาคเสื่อม มิได้อยู่ในภาคเศร้าหมอง หรือมิได้อยู่ในภาคหยุดชะงัก
โดยที่แท้อยู่ในภาคคุณวิเศษที่สูง ๆ ขึ้นไป มีอยู่แก่พระองค์ เพราะฉะนั้น
พระองค์จึงทรงพระนามว่า ภตวา (ผู้บำเพ็ญพุทธกรธรรม) ดังนั้น เมื่อ-
ควรขนานพระนามว่า ภตวา แต่กลับถวาย พระนามว่า ภควา เพราะ
แปลงอักษร ต ให้เป็นอักษร ค ตามนัยแห่งนิรุกติศาสตร์. อีกอย่างหนึ่ง
บทว่า ภตวา มีความว่า ทรงสั่งสม คือ อบรมไว้ ได้แก่บำเพ็ญพุทธกร-
ธรรม ตามที่กล่าวแล้วนั้นนั่นแล. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะ
หมายความว่า ทรงอบรมพุทธกรธรรม แม้ด้วยประการฉะนี้.
เพราะเหตุที่พระโลกนาถ ทรงอบรม
สัมภารธรรมทั้งหมด มีทานบารมีเป็นต้น
เพื่อพระสัมมาสัมโพธิญาณ ฉะนั้น จึง
ถวายพระนามว่า ภควา.


3. ทรงเสพภาคธรรม


พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพ
ภาคธรรมเป็นอย่างไร ? คือ ส่วนแห่งสมาบัติที่ใช้ทุกวันนับได้จำนวนสองหมื่น
สี่พันโกฏิเหล่าใดมีอยู่ พระพุทธเจ้าทรงใช้ ทรงคบ ทรงส้องเสพ ได้แก่
ทรงทำให้มากอยู่เนืองนิตย์ ซึ่งส่วนแห่งสมาบัติเหล่านั้นไม่มีเหลือ เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลก และเพื่อประทับอยู่อย่างเป็นสุขในปัจจุบันของ
พระองค์ เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า
ทรงเสพภาคธรรม. อีกประการหนึ่ง ในธรรมทั้งหลายที่ควรรู้ยิ่ง มีกุศล
เป็นต้น และมีขันธ์เป็นต้น ธรรมเหล่าใดเป็นส่วนที่ควรรู้ยิ่งด้วยอำนาจเป็น

ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นต้น หรือเป็นส่วนที่ควรรู้ยิ่ง โดยย่อก็มีอยู่ 4 อย่าง
แต่เมือว่าโดยพิสดารก็คือ ธรรมทั้งหลายเป็นส่วนที่ควรกำหนดรู้หลายประเภท
โดยนัยเป็นต้นว่า จักษุเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ฯลฯ ชราและมรณะเป็นสิ่งที่
ควรกำหนดรู้ 1 ธรรมทั้งหลายเป็นส่วนที่ต้องละหลายประเภท โดยนัยเป็นต้น
ว่า เหตุเกิดของจักษุต้องละ ฯลฯ เหตุเกิดของชราและมรณะต้องละ 1 ธรรม
ทั้งหลายเป็นส่วนต้องทำให้แจ้งหลายประเภทโดยนัยเป็นต้นว่า การดับของจักษุ
ต้องทำให้แจ้ง ฯลฯ การดับของชราและมรณะต้องทำให้แจ้ง 1 ธรรมทั้งหลาย
เป็นส่วนต้องทำให้เจริญหลายประเภทโดยนัยเป็นต้นว่า ปฏิปทาที่มีปกติให้ถึง
ความดับแห่งจักษุต้องเจริญ ฯลฯ สติปัฏฐาน 4 ต้องเจริญ 1 ธรรมเหล่านั้น
ทั้งหมด พระพุทธเจ้าทรงใช้ ทรงคบ ทรงเสพด้วยอำนาจอารมณ์ ภาวนา
และอาเสวนะตามควร. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความ
ว่า ทรงเสพภาคธรรมดังพรรณนามาฉะนี้
อีกประการหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงเสพ ทรงปรารถนาด้วยพระ-
มหากรุณาว่า หมวดธรรมมีศีลเป็นต้นเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณคือ เป็นภาคแห่ง
คุณทีทั่วไป ทำไฉนหนอ หมวดธรรมเหล่านั้นจะพึงดำรงมั่นอยู่ในสันดานของ
เวไนยสัตว์. และความปรารถนานั้นของพระองค์ ก็ได้นำผลมาให้สมพระประสงค์.
พระพุทธเจ้าจึงทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภาคธรรม
ดังพรรณนามาฉะนี้.
เพราะเหตุที่พระตถาคตเจ้า ทรงเสพ
ทรงปรารถนาภาคแห่งคุณ คือ การบรรลุ
ไญยธรรมเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่
สัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า
ภควา.

4. ทรงเสพภคธรรม


พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพ
ภคธรรม เป็นอย่างไร ? คือ ว่าโดยย่อก่อน สมบัติทั้งหลายทั้งที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตระชื่อว่า ภคะ เพราะอันบุคคลทั้งหลายผู้ทำบุญไว้แล้ว ถึงพร้อมด้วย
ปโยคะ เสพได้ตามควรแก่สมบัติ. ก่อนอื่นในภคธรรมทั้งสองนั้น ภคธรรม
ที่เป็นโลกิยะอันสูงสุดอย่างยิ่งยวด พระตถาคตเจ้า ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์
ก่อนที่จะได้ตรัสรู้ ก็ได้เสวย คบ เสพมาแล้ว ซึ่งพระองค์ทรงดำรงอยู่ แล้ว
จึงได้พิจารณาพุทธกรรรมอย่างครบถ้วน บ่มพุทธธรรมให้สุกเต็มที่ ต่อ
เมื่อได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ได้เสวย คบ เสพภคธรรมเหล่านั้น อันเป็น
โลกุตระประกอบด้วยภาวะอันไม่มีโทษลึกซึ้ง ไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่น. ส่วนที่
ว่าโดยพิสดาร พระตถาคตเจ้า (ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์) ก็ได้เสวย คบ เสพ
ภคธรรม (อันเป็นโลกิยะ) ที่ไม่สาธารณะแก่บุคคลอื่นหลายอย่างคือ ความ
เป็นพระเจ้าประเทศ ความเป็นเอกราช จักรพรรดิราชสมบัติ และเทวราช-
สมบัติเป็นต้น และครั้นได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ได้เสวย คบ เสพภคธรรม
(อันเป็นโลกุตระ) ที่ไม่สาธารณะแก่บุคคลอื่นหลายอย่างคือ อุตริมนุสธรรม
มีฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ การเจริญมรรคและการทำ
ผลให้แจ้งเป็นต้น.
พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะความหมายว่า ทรงเสพ
ภคธรรม ดังพรรณนามาฉะนี้.
เพราะเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงเสพโลกิยสมบัติ และโลกุตรสมบัติ
จำนวนมาก ฉะนั้น จึงได้รับขนานพระ-
นามว่า ภควา.